สัญลักษณ์ ของ กีฬาเยาวชนแห่งชาติ (ประเทศไทย)

ไฟพระฤกษ์

ไฟพระฤกษ์ เป็นไฟที่อัญเชิญมาเพื่อประกอบพิธีเปิดกีฬาแห่งชาติและจุดในกระถางคบเพลิงตลอดการแข่งขัน ไฟพระฤกษ์สำหรับการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ เริ่มมีครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะต้องขอพระราชทานไฟพระฤกษ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อนำมา ทั้งนี้ คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะต้องทำหนังสือติดต่อไปยังสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลถึงกำหนดนัดหมาย วัน เวลา สถานที่ ให้คณะกรรมการเข้าเฝ้ารับพระราชทานไฟพระฤกษ์นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงจุดจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วพระราชทานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติในปีนั้นๆ ที่กรุงเทพมหานคร

โดยวิธีการจุดไฟพระฤกษ์นั้น สำนักพระราชวังจะนำพระแว่น “สุรยกานต์” ไปทอดไว้ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่ละปี สำหรับพระราชพิธีจัดไฟขึ้นอยู่กับสถาวะอากาศ และเมื่อทรงประกอบพระราชพิธีจัดไฟเรียบร้อยแล้ว สำนักพระราชวังจะนำไฟพระฤกษ์ไปเก็บรักษาไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และจะเลี้ยงไว้สำหรับใช้ในปีนั้น จนกระทั่งถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ของปีนั้น ไฟพระฤกษ์ที่เลี้ยงไว้นี้จะใช้ในพระราชพิธีต่างๆ รวมทั้งเชิญไปใช้ในการพระราชทานเพลิงศพบุคคลที่สมควรด้วย[1]

เพลงกีฬาแห่งชาติ

เพลงกีฬาแห่งชาติ คือ เพลงวันแห่งชัยชนะ เป็นเพลงที่การกีฬาแห่งประเทศไทยรับรองให้เป็นเพลงที่ใช้เชิญธงกีฬาแห่งชาติ และธงการกีฬาแห่งประเทศไทยอย่างเป็นทางการ รวมถึงใช้ในพิธีรับเหรียญรางวัลในกีฬาแห่งชาติ และกีฬาเยาวชนแห่งชาติ

ใกล้เคียง

กีฬาเยาวชนแห่งชาติ (ประเทศไทย) กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 35 กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 33 กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 29 กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 38 กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 31 กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 27 กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 30 กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 39 กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 36